ผู้สูงอายุและคนพิการ "ภาระทางสังคม" หรือ "โอกาสทางธุรกิจ"
หากมองในมุมแคบ หรือไม่ประยุกต์ใช้ไปตามยุคสมัย จะกลายเป็นว่า "คนพิการคือภาระและตัวถ่วง"
มองในแง่มุมที่เปิดกว้างและฉลาด จะกลายเป็นว่า "คนพิการคือโอกาสทางธุรกิจ"

หากมองในมุมแคบ หรือไม่ประยุกต์ใช้ไปตามยุคสมัย จะกลายเป็นว่า "คนพิการคือภาระและตัวถ่วง"
มองในแง่มุมที่เปิดกว้างและฉลาด จะกลายเป็นว่า "คนพิการคือโอกาสทางธุรกิจ"
ให้ instantTranslate ช่วยคุณในการแปลภาษาได้นะครับ หากการแปลภาษาดูเป็นเรื่องยากหรืออาจไม่ถนัด ลองใช้ ลองพิสูจดูสิครับ
คาดว่าในช่วงนี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งคงเริ่มเปิดสอนกันแล้ว หรือบางส่วนก็คงเหลืออีกไม่กี่เดือน ช่วงนี้แหละ ที่น้องๆ จะเริ่มวิตกกังวลว่า เราจะปรับตัวกับเพื่อนใหม่ได้หรือเปล่า จะเรียนรู้เรื่องมั้ย จะเดินทางอย่างไร จะมีใครช่วยเราหรือเปล่า
วันนี้ผมจะมาเขียนแนะนำขั้นตอนต่างๆ ที่นักศึกษาใหม่ควรทำ เมื่อเราเพิ่งเข้ารั้วมหาวิทยาลัยไปในช่วงแรกๆ กันครับ คิดว่าคงได้ใช้บ้างไม่มากก็น้อย
1. หากทางมหาวิทยาลัยมีการเข้าคลาส หรือที่หลายคนมักเรียกกันว่า “กิจกรรมรับน้อง” นักศึกษาตาบอดควรเข้าเป็นอย่างยิ่งครับ ถึงแม้ว่าเราจะร่วมกิจกรรมบางอย่างไม่ได้ ไปนั่งเฝ้าก็ยังดี
ดูจากหัวเรื่อง ผมเชื่อว่าคนตาดีหลายท่าน หรือแม้แต่คนตาบอดบางส่วนเองก็ยังสงสัย ว่าทำไมการที่ครอบครัวเป็นห่วงมาก ถึงทำให้คนตาบอดหรือคนพิการประเภทอื่นๆ อึดอัดได้ และถ้าอึดอัด จะอึดอัดเพราะสาเหตุอะไรกันแน่
ทั้งนี้ผมต้องขอบอกก่อนว่า การที่ครอบครัวเป็นห่วงถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าครอบครัวห่วงคนพิการมากจนเกินไป ก็จะทำให้คนพิการรู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถ ทั้งยังทำให้คนพิการรู้สึกว่าตัวเองขาดอิสระ จะทำอะไรครอบครัวก็คอยห้าม จะไปไหนด้วยตัวเองก็ถูกครอบครัวปฏิเสธตลอด
จากการอ่านบทความไอทีมามากมายหลายเว็บ ทำให้ผมไปเจอเว็บสายไอทีเว็บหนึ่ง ซึ่งผมอยากแนะนำมากๆ ครับ เว็บนี้ผมติดตามมานานแล้ว ถ้าจะเก็บเอาไว้คนเดียวก็ยังไงๆ อยู่ เลยหยิบมาแนะนำกันครับ
ตาบอดคนไหนที่เป็นสายโปรแกรมเมอร์ หรือชอบอ่านบทความไอที ผมแนะนำบล็อกของพี่กาฝากเลยครับ
เพราะนอกจากจะมีบทความดีๆ ให้อ่านแล้ว หากในบทความมีรูปภาพ พี่เขายังช่วยใส่คำอธิบายรูปภาพให้คนตาบอดเข้าใจอีกด้วย
ซึ่งต้องขอบอกว่าพี่แกอธิบายรูปภาพได้ดีมากๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงขั้นอธิบายข้อความที่อยู่ในภาพ แต่ในบทความที่พี่เขาเขียนก็อธิบายเนื้อหาเอาไว้เป็นอย่างดี
เมื่อเดือนที่แล้ว Blind living ได้นำเสนอข่าวที่ว่า Facebook สามารถอ่านข้อความในรูปภาพที่เป็นภาษาอังกฤษได้ แต่ในตอนนั้น Facebook ยังไม่รองรับตัวอักษรหรือข้อความที่เป็นภาษาไทย
ล่าสุด Facebook สามารถอ่านตัวอักษรหรือข้อความที่เป็นภาษาไทยได้แล้ว ที่ดีไปกว่านั้นก็คือ นอกจาก Facebook จะอ่านข้อความจากรูปภาพได้แล้ว ระบบ Facebook ยังคงอธิบายรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในรูปภาพให้ตามเดิมอีกด้วย
อาทิ ในรูปพาพมีอะไรบ้าง มีลักษณะภูมิประเทศอย่างไร มีข้อความว่าอะไร เป็นต้น
ทั้งนี้ระบบดังกล่าวยังคงใช้ได้เฉพาะภาพที่เป็นโพสต์หรือคอมเม้นต์ แต่ยังไม่สามารถใช้อธิบายรูปภาพในแชทส่วนตัวได้
ต้องขอบอกก่อนว่าหนังสั้นเรื่องนี้ปล่อยออกมานานแล้ว หากแต่ผมเพิ่งรู้จักและเพิ่งมีโอกาสได้ดู ดังนั้นหลายคนจึงอาจเคยดูหนังเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว ซึ่งบทความนี้ก็ถือว่ามาแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่เคยดูก็แล้วกันครับ
คิดว่าหลายคนคงรู้จักเกมนี้ และอีกหลายคนคงไม่รู้จัก เพราะในปัจจุบัน ถ้าเราพูดถึง “เกมคนตาบอด” ส่วนใหญ่ก็จะเล่นเกมออนไลน์กันซะมาก แตกต่างจากแต่ก่อน ที่ตอนนั้นเกมออนไลน์สำหรับคนตาบอดยังไม่มากถึงขนาดนี้
เคยอยากเล่น Messenger บนคอม PC หรือ Notebook ไหมล่ะ หรืออยากมีประสบการณ์ใหม่ๆในการใช้ messenger บ้างไหม จะอย่างไรก็ตาม ถ้าหากสนใจวันนี้เราไปทำความรู้จักหรือลองใช้งาน App Messenger บน PC ที่ getI-T นำมาฝากกันได้เลย
ถึงแม้ว่าคนตาบอดจะมองไม่เห็น ทว่าชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป มีหลายครั้งที่คนตาบอดจำเป็นจะต้องไปเกี่ยวค่องกับการใช้ไฟฟ้า เช่นการเสียบปลั๊กทีวี คอม เครื่องเสียง ตลอดจนชาร์ตแบตโทรศัพท์
การจะทำสิ่งที่ว่ามาดังกล่าว คนตาบอดจะต้องใช้การสัมผัสหรือการคลำหาปลั๊กไฟ ซึ่งจะจับแบบไหนคลำยังไง อันนี้คงขึ้นอยู่กับวิธีที่คิดว่าทำแล้วน่าจะปลอดภัยของแต่ละคน แต่ถึงอย่างไรก็ใช่ว่าแต่ละวิธีจะปลอดภัยจากการถูกไฟดูดหรือช็อต ดังนั้นวันนี้ทางทีมงานจึงมีวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยมาแนะนำกันครับ
เมื่อสังคมโลกกำลังได้รับความลำบากจากเชื้อโควิด-19 แน่นอนว่า คนตาบอดเองก็หนีไม่พ้นได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้ ทั้งยังดูเหมือนจะได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตหนักกว่าคนทั่วไป ซึ่งสาเหตุเกิดจากคนตาบอดต้องใช้การสัมผัสสิ่งของต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันนั่นเอง
คนตาบอดหลายคนอาจเชื่อว่าการใส่ถุงมือเพื่อไม่ให้เราสัมผัสกับผู้คน หรือสิ่งของนั้นๆ โดยตรง ดูจะช่วยป้องกันเชื้อโคโรนาได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่อันที่จริงแล้วไม่ถูกเสมอไป
[Podcasts] แนะนำการใช้งาน Adobe Digital Editions โปรแกรมเปิดไฟล์ E-pub ที่ครบเครื่องที่สุด
คอมพิวเตอร์ อาจเป็นแค่เครื่องมือที่ใช้สำหรับทำงาน หรือหาความสนุกของคนปกติ
สมาร์ตโฟนอาจเป็นแค่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกชนิดหนึ่ง ที่คนทั่วไปก็ใช้กัน
แต่ทั้งหมดที่ผมว่าไปมันจะเป็นมากกว่านั้น เมื่อคนตาบอดเป็นคนใช้มัน
แต่ก่อนไม่ว่าคนตาบอดจะทำอะไร เช่นอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ก็ดูเหมือนจะยุ่งยากไปหมด เพราะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสื่อจำพวกนี้ยังพัฒนาไม่มากพอ คนตาบอดจึงไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
หากเมื่อเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านโลกเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีเป็นปัจจัยอีกประการที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ อุปสรรคต่างๆ ที่คนตาบอดเคยประสบก็เริ่มลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ
ถ้าใครที่ตามอ่านโพสต์ในกลุ่ม Facebook บางกลุ่ม ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมีการแชร์รูปภาพที่มีข้อความกันค่อนข้างบ่อย ตัว AI ของ Facebook จะบรรยายรูปภาพว่า "ภาพนี้อาจจะมีข้อความ" แต่ไม่ยอมอธิบายว่า ข้อความในรูปภาพนั้นๆ เขียนเอาไว้ว่าอะไร
นอกจากนี้ที่ผ่านมา หากเป็นโพสต์ที่เป็นรูปภาพ ทาง AI (ปัญญาประดิษ) ของ Facebook จะอธิบายภาพพอให้คนตาบอดเข้าใจอย่างคร่าวๆ เช่นอาจจะมีต้นไม้ ท้องฟ้า แม่น้ำ หรือผู้คน ซึ่งถ้าภาพนั้นๆ เป็นตัวอักษร หรือสิ่งของที่ไม่มีบนฐานข้อมูล AI จะบอกเพียงว่า "ไม่มีคำอธิบายข้อความ"
เมื่อเราพูดถึงการเดินทางหรือการไปเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ เราคงจะนึกถึงภาพคนตาปกติจัดกระเป๋า จองตั๋วรถ แล้วออกเดินทาง ทั้งไปคนเดียวหรือไปกันแบบกลุ่มหลายคน
แต่เคยรู้กันมั้ยว่า ในซอกหลืบเล็กๆ ของสังคม ที่คนส่วนใหญ่อาจมองข้ามไป “คนตาบอด” เอง ก็มีคนที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวอยู่ไม่ได้ต่างจากคนตาปกติเลย
ตั้งแต่เด็กจนโต ผมมีเพื่อนหลายคนที่เป็นนักเดินทาง ซึ่งต้องยอมรับว่าพวกเขาเก่งมากๆ เพราะเคยไปหมดทั้งขึ้นรถ ลงเรือ ขึ้นเครื่องบิน ล่องแพ ขึ้นเขา เดินป่า เดินห้าง
ไม้เท้าสีขาว ที่เราเห็นคนตาบอดใช้คลำทางอยู่บ่อยๆ เคยสงสัยหรือไม่ ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร? มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่? ใครเป็นคนเริ่มใช้?
ประวัติศาสตร์ไม้เท้าคนตาบอดเริ่มขึ้นเมื่อหลายศตวรรษก่อน เดิมทีอุปกรณ์ประเภทไม้เท้า หรือไม้เป็นแท่งๆนั้นถูกใช้เพื่อประโยชน์หลายอย่างด้วยกัน ทั้งเป็นสัญลักษณ์การเดินทางของกองทัพทหาร ทั้งใช้ต้อนฝูงสัตว์ ทั้งเคลียร์ถนน ทั้งใช้ช่วยพยุงตัวเวลาเดินขึ้นเขา ฯลฯ ที่จริงแล้ว แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้งานแบบนี้อยู่
คิดว่าต้องเคยมีกรณีที่ว่า คนรอบข้างคนตาบอด เช่น พ่อแม่ ญาติๆ หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับคนตาบอด ได้นำสิ่งของที่เคยอยู่ตรงนั้นประจำ หรือคนตาบอดนำไปวางไว้ แล้วย้ายไปวางไว้ที่อื่นโดยไม่บอกคนตาบอดให้รู้ เพราะคิดว่าคงไม่เป็นอะไร
ซึ่งอันที่จริงแล้ว การทำแบบนี้ อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนตาบอดมากกว่าที่คุณคิดก็เป็นได้ หากว่ากันตามปกติ การที่คนมองเห็นย้ายสิ่งของไปวางไว้ที่อื่น คุณก็แค่มองหาไปรอบๆ ว่าไอ้เจ้าของที่คุณต้องการหานั้นน่ะมันถูกย้ายไปวางไว้ที่ไหน
ในยุคที่โทรศัพท์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเรา อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างที่แต่ละคนควรจะมีติดตัวกันเอาไว้นั่นก็คือหูฟังหรือสมอลทอร์ค (SMALL TALK) ซึ่งข้อดีข้อเสียก็มีต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อที่ท่านเลือกใช้
ที่เกริ่นเรื่องหูฟังขึ้นมาก็เพราะว่า ในบทความนี้ เราจะมาพูดกันเรื่อง “หูฟัง” ว่าทำไมมันถึงสำคัญกับคนตาบอด ทั้งที่หากเป็นคนตาปกติ หูฟังมันก็แค่หูฟัง จะมีหรือไม่มีก็ไม่เห็นสำคัญอะไร
เมื่อเราพูดถึง “หนังสือสำหรับคนตาบอด” สิ่งที่สำนักพิมพ์ นักเขียน หรือคนทั่วไปนึกถึงอันดับแรกเลย ก็คงจะไม่พ้นหนังสือเสียงหรือเดย์ซี่ เพราะเป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่นักเขียนหลายท่าน รวมถึงสำนักพิมพ์หลายสำนักพิมพ์อนุญาตให้หน่วยงานที่เกี่ยวค่องกับคนตาบอด สามารถนำงานเขียนต่างๆ มาจัดทำในรูปแบบของหนังสือเสียงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเป็นไปตามสนธิสัญญามาร์ราเคชเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ ทำให้คนตาบอดได้มีโอกาสเข้าถึงนวนิยาย สารคดี ตลอดจนงานเขียนอื่นๆ ได้อย่างเท่าเทียม
วิธีการติดตั้งโปรแกรม talks โดยคร่าวๆ
ได้จากรุ่นพี่มาอีกที ผมมิได้เป็นผู้เขียนเอง
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม nuance talks version 500_3 อย่างคร่าวๆ
ก่อนอื่นเราก็มาสำรวจโปรแกรมต่างๆที่มีใน folder ที่ท่านได้รับนี้ก่อนนะครับ
สำหรับผู้ที่ได้อ่านคู่มือนี้นั่นก็แสดงว่าท่านได้มี folder ที่ชื่อว่า talks for ti อยู่ในมือของท่านแล้ว หรือหากท่านจะเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ตามใจของท่านก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่แน่นอนท่านย่อมจะมีชุดโปรแกรมที่อยู่ภายใน talks for ti เรียบร้อยแล้ว